วิชาพลศึกษา(กีฬาแฮนด์บอล)
ไม่มีหมวดหมู่
เกี่ยวกับคอร์ส
ประโยชน์ของกีฬาแฮนด์บอล
กีฬาแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทางพลศึกษา และมุ่งพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
ประโยชน์ทางด้านร่างกาย
ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
เสริมสร้างความคล่องแคล่ว ความอ่อนตัว ความอดทน
เสริมสร้างระบบประสาท การประสานงานร่วมกับกล้ามเนื้อ
ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย
ช่วยการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย โดยเฉพาะระบบการใช้พลังงาน
ประโยชน์ทางด้านจิตใจ
ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง หนักแน่น
รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
ส่งเสริมความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
ส่งเสริมจิตใจให้เป็นผู้มีความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว
ส่งเสริมความสุขุมเยือกเย็น และรอบคอบ
ประโยชน์ทางด้านสังคม
ส่งเสริมการมีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกา
ส่งเสริมความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม รู้จักการเข้าสังคม
มีความมั่นใจในตนเองและสามารถวางตัวได้ถูกต้องเมื่ออยู่กับผู้อื่น
ส่งเสริมมิตรภาพที่ดี ทั้งผู้ดู ผู้เล่นและโค้ด
หากทีความสามารถในระดับการแข่งขันต่างๆ ก็สามารถสร้างชื่อเสียงให้ตนเองและครอบครัว รวมทั้งสังคม ประเทศชาติได้อีกด้วย
คุณจะได้เรียนรู้อะไร?
- ประวัติกีฬาแฮนด์บอล
เนื้อหาของคอร์ส
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ประเทศยุโรปในฤดูหนาวไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้ จึงใช้ห้องพลศึกษาดัดแปลงเล่นกีฬาฟุตบอลด้วยมือ ตอนแรกใช้ผู้เล่น 11 คนเท่ากับฟุตบอล แต่ไม่สะดวก เพราะสถานที่คับแคบ จึงลดจำนวนผู้เล่นเหลือข้างละ 7 คน จึงกลายมาเป็นกีฬาแฮนด์บอลแบบการเล่นในปัจจุบัน ในช่วงนั้นแฮนด์บอลมิได้ถือว่าเป็นกีฬาอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีหน่วยงานเป็นของตนเอง แต่คณะกรรมการที่ก่อตั้งและดำเนินการก็มาจากสหพันธ์กีฬาสมัครเล่นระหว่างชาติ (The International Amateur Athletic Federation) มีชื่อย่อๆ ว่า I.A.A.F. คณะกรรมการชุดนี้เป็นคณะกรรมการที่มีหน้าที่จัดดำเนินการต่างๆ ในทวีปยุโรปสมัยนั้น
หลังจากปี พ.ศ. 2447 กีฬาแฮนด์บอลซึ่งอยู่ในความดูแลของ I.A.A.F. ก็มีความมั่นคงขึ้น และหลายๆ ประเทศให้ความสนใจ และมีการจัดบรรจุในรายการกิจกรรมการกีฬาของประเทศนั้นๆ ด้วย ตลอดจนได้มีการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2469 I.A.A.F. ได้ตั้งคณะกรรมการกีฬาแฮนด์บอลขึ้นโดยเฉพาะ โดยมีคณะกรรมการที่มาจากประเทศต่างๆ ในเครือสมาชิกของกีฬาประเภทนี้มีการประชุมตกลงเรื่องกติกาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่กีฬาแฮนด์บอลได้ตั้งเป็นกีฬาประเภทหนึ่งโดยเอกเทศ และมีการริเริ่มตั้งสหพันธ์แฮนด์บอลขึ้นในปี พ.ศ. 2471 ประเทศกลุ่มสมาชิก 11 ประเทศได้เข้าร่วมประชุมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศฮอลแลนด์ The International amateur Handball Federation ก็ได้จัดตั้งขึ้น และบุคคลที่มีความสำคัญของการกีฬาสหพันธ์คือ Every Brundage ประธานของ I.O.C. ได้เป็นสมาชิกขององค์การใหม่นี้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2471 กีฬาแฮนด์บอลก็ได้มีการสาธิตขึ้นในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2474 แฮนด์บอลก็ได้บรรจุเข้าเป็นรายการแข่งขันกีฬาระหว่างชาติ โดยการยอมรับของ I.O.C. หลังจากการประชุมที่กรุงอัมสเตอร์ดัม สมาชิกทั้งหมด 11 ประเทศ ก็ได้เพิ่มเป็น 25 ประเทศในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นจุดที่ชี้ให้เห็นว่ากีฬาแฮนด์บอลได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน หรือที่เรียกว่า Nazi Olympic
สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สร้างปัญหาต่างๆ ให้กับการกีฬาเป็นอย่างมากแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งหนึ่งที่โคเปนเฮเกน เพื่อที่จะฟื้นฟูกีฬาแฮนด์บอลขึ้นมาใหม่ แต่ก็ล้มเหลว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2499 จึงได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลขึ้นใหม่ และยอมรับทักษะการเล่นสมัยก่อน ซึ่งทำให้ลักษณะของการเล่นและกติกาเปลี่ยนแปลงไป โดยอาศัยกติกาของฟุตบอลและบาสเกตบอลมาผสมกัน
สมัยก่อนนิยมการเล่นแบบ 11 คน เช่นเดียวกับฟุตบอล แต่ในยุโรปตอนเหนือได้มีการเล่นแบบ 7 คน และเล่นกันในร่ม ตอนแรกๆ ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก แต่ต่อมาการเล่นแฮนด์บอลแบบ 7 คน ก็เป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรป ทำให้การเล่นแบบ 11 คนได้หายไป ซึ่งในปัจจุบันทั่วโลกก็ยอมรับการเล่นแบบ 7 คน และจากผลของการวิจัยต่างๆ ปรากฏว่าแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่มีความเร็วเป็นอันดับสองของโลกรองลงมาจากกีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง เหตุที่แฮนด์บอล 7 คนนิยมเล่นในร่มก็อาจเป็นเพราะเนื้อที่สนามน้อย สามารถเล่นในที่แคบๆ ได้ และอีกอย่างก็คือสภาพของดินฟ้าอากาศในฤดูหนาวของทวีปยุโรปนั้นจะปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็ง ดังนั้นแฮนด์บอลจึงไม่สามารถเล่นในสนามกลางแจ้งได้ ด้วยเหตุผลนี้แฮนด์บอลจึงเป็นที่นิยมเล่นกันในร่มหรือโรงยิมเนเซียมแทน
จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่ากีฬาแฮนด์บอลเป็นกีฬาของโลกอย่างหนึ่งเพราะการแข่งขันกีฬาสำคัญระหว่างชาติก็มีการแข่งแฮนด์บอลด้วย เช่น กีฬาเอเชียนเกมส์ ที่ประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2525 ก็ได้มีการแข่งขันแฮนด์บอล หลังจากที่บรรจุไว้ในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 แล้ว และในปี พ.ศ. 2516 ได้บรรจุในโปรแกรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่นครมิวนิค ประเทศเยอรมันตะวันตกด้วย
ประวัติแฮนด์บอลในประเทศไทย
กีฬาแฮนด์บอลได้นำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 โดยอาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา ในสมัยนั้นแฮนด์บอลยังนิยมการเล่นแบบ 11 คนอยู่ แต่คนไทยเราไม่ค่อยจะนิยมเล่นกีฬาประเภทนี้กันเลยยกไป ซึ่งอาจเป็นเพราะประเทศไทยสามารถเล่นฟุตบอลได้ตลอดฤดูกาล กีฬาแฮนด์บอลจึงไม่เป็นที่นิยมเล่นดังกล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ.2500 อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้ไปดูงานด้านพลศึกษาในประเทศเดนมาร์ก และสวีเดน ได้นำกีฬาแฮนด์บอลนี้มาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มบรรจุเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาก่อนที่อื่นเพื่อเป็นการทดลอง และต่อมาก็ได้เผยแพร่ไปตามโรงเรียนต่างๆ บ้าง แต่ก็ยังไม่กว้างขวางนัก
ปัจจุบันวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศได้บรรจุวิชาแฮนด์บอลไว้ในหลักสูตร ตลอดจนหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2518 ได้กำหนดเป็นวิชาบังคับ จึงนับได้ว่ากีฬาแฮนด์บอลเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักเรียนวิทยาลัยพลศึกษา และประชาชนคนไทยมากยิ่งขึ้น
แฮนด์บอลได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาของวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศที่กรมพลศึกษาเป็นเจ้าภาพ เมื่อ พ.ศ. 2524 โดยการใช้กติกาการแข่งขันสากลฝ่ายละ 7 คน ปัจจุบัน นายปรีดา รอดโพธิ์ทอง อธิบดีกรมพลศึกษา ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า กีฬาแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่มีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และสภาพของคนไทย จึงได้ส่งเสริมและให้มีการฟื้นฟูกีฬาประเภทนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยให้กองกีฬากรมพลศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจัดให้มีการอบรมผู้ฝึกสอน อบรมผู้ตัดสิน พร้อมทั้งจัดให้มีการแข่งขันกีฬาแฮนด์บอลในกีฬากรมพลศึกษาเป็นประจำทุกปี
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แนะนำอุปกรณ์แฮนด์บอล
* สนามแข่ง
มีความยาว 40 เมตรและกว้าง 20 เมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านยาวเรียกว่า เส้นข้าง ด้านสั้นเรียกว่า เส้นประตู ควรมีพื้นที่ข้างสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร ด้านเส้นหลังประตูไม่น้อยกว่า 2 เมตร
* ประตู
มีความกว้าง 3 เมตร สูง 2 เมตร มีตาข่ายขึงติดไว้มีลักษณะหยุ่น เมื่อลูกบอลขว้างไปถูกจะไม่กระดอนกลับออกมาอย่างรวดเร็วในสนามมีเส้นส่งกินเปล่า เส้นเขตประตู เส้นเขตผู้รักษาประตู เส้นเปลี่ยนตัวและเส้น 7 เมตร เส้นประตูอยู่ระหว่างเสาประตูทั้ง 2 ข้าง
* ลูกบอล
เป็นรูปทรงกลม ไม่สะท้อนแสงหรือลื่น ลูกบอลของนักกีฬาชายมีเส้นรอบวง 58-60 ซม. น้ำหนัก 425-475 กรัม จะมีลูกบอล 2 ลูก ทุกครั้งที่มีการแข่งขัน ส่วนลูกบอลของนักกีฬาหญิงมีเส้นรอบวง 54-56 ซม. น้ำหนัก 325-400 กรัม จะมีลูกบอล 2 ลูกทุกครั้งที่มีการแข่งขัน
หน่วยที่การเรียนรู้ที่3 กติกาแฮนด์บอล
สนามเล่น
1. ขนาดของสนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาว 40 เมตร กว้าง 20 เมตร ด้านยาวเป็นสองเท่าของด้านข้าง (เส้นประตูด้านนอกรวมอยู่ในเส้นประตูด้วย) สนามเล่นแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยมีเส้นกึ่งกลาง (เส้นแบ่งแดน) ลากขนานกับเส้นประตูและมีเขตประตูทั้งสองด้าน
ข้อกำหนดเกี่ยวกับขนาดและผิวของสนามแข่งขัน จะต้องไม่ทำให้เกิดการได้เปรียบกับทีมใดทีมหนึ่ง
หมายเหตุ เพื่อความปลอดภัยควรมีพื้นที่นอกสนามห่างจากเส้นข้าง 1 เมตร และห่างจากประตู 2 เมตร
2. ประตูแต่ละด้านต้องวางที่จุดกึ่งกลางด้านนอกของเส้นประตู แต่ละประตูมีขนาดสูง 2 เมตร และกว้าง 3 เมตร (โดยวัดจากขอบด้านใน)
เสาประตูจะต้องตั้งอยู่กับพื้นอย่างมั่นคง และเชื่อมต่อด้วยคานประตูขอบหลังของเสาประตูจะต้องตั้งอยู่ที่ขอบนอกของเส้นประตู เสาประตู และคานประตู จะต้องมีขนาด 8 x 8 เซนติเมตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทำด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน (ไม้โลหะชนิดเบา หรือวัสดุสังเคราะห์อื่น ๆ ) และต้องทาสีทุกขนาดจำนวน 2 สี ที่ตัดกับสีของผนังด้านหลังประตู บริเวณที่เชื่อมต่อกันระหว่างเสาประตูกับคานประตูจะต้องทาเป็นสีเดียวกันตลอด โดยมีความยาว 28 เซนติเมตร และที่บริเวณอื่น ๆ ยาว 20 เซนติเมตร ประตูจะต้องมีตาข่ายขึงติดไว้ และเมื่อลูกบอลถูกขว้างไปแล้วจะไม่กระดอนออกมาอย่างทันทีทันใด
3. เขตประตูให้ลากเส้นยาว 3 เมตร ขนานกับเส้นประตู ใช้ด้านในของเสาประตูแต่ละเสาทำเป็นจุดศูนย์กลางรัศมี 6 เมตร ลากจากเส้นประตูไปบรรจบกับเส้น 3เมตร เป็น 1/4 ของวงกลมทั้งสองด้าน เส้นนี้เรียกว่าเส้นเขตประตู
4. เส้นส่งลูกกินเปล่า (9 เมตร) เป็นเส้นไขปลาลากขนาดกับเส้นเขตประตู โดยห่างจากเส้นเขตประตู 3 เมตร
5. เส้น 7 เมตร ลากเส้นยาว 1 เมตร ห่างจากเส้นประตู 7 เมตร ให้ขนานกับเส้นประตู และห่างจากเส้นข้างทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
6. เส้นเขตผู้รักษาประตู ลากเส้นข้าง 15 เซนติเมตร ให้ขนานกับเส้นประตู และห่างจากเส้นประตู 4 เมตร เส้นนี้ให้อยู่ระหว่างกลางของเส้นข้างทั้งสองเส้น
7. เส้นกลางสนาม ลากต่อจากจุดกึ่งกลางของเส้นข้างทั้งสองด้าน
8. เส้นเปลี่ยนตัว ลากเส้นยาว 15 เซนติเมตร ที่เส้นข้างแต่ละด้านที่แบ่งโดยเส้นกลางสนาม แต่ละเส้นทำเป็นมุมฉากกับเส้นข้าง และอยู่ห่างจากเส้นกลางสนาม4.50 เมตร
9. เส้นทุกเส้นเป็นส่วนหนึ่งของเขตนั้น ๆ และกว้าง 5 เซนติเมตร และสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
10. เสาประตูต้องกว้าง 8 เซนติเมตร
ขนาดของสนาม
ประตู
เวลาการเล่น
1. เวลาการเล่นทั้งประเภทชายและหญิงที่มีอายุ 8 ปี หรือมากกว่า แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที พักระหว่างครึ่ง 10 นาที
2. เวลาการเล่นจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ตัดสินประจำสนาม ให้สัญญาณนกหวีดหมดเวลา จะต้องทำโทษความผิดนั้นก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยให้สัญญาณหมดเวลา ผู้ตัดสินประจำสนามเพียงคนเดียวที่สามารถหยุดเวลาการเล่นภายหลังจากมีการส่งลูกกินเปล่า หรือยิงลูกโทษ และประตูด้านข้าง
3. ทั้งสองด้านทีมจะต้องเปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลาหลัง
4. ผู้ตัดสินทั้งสองจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดว่าจะให้มีการหยุเล่นชั่วขณะหนึ่ง และจะให้เริ่มเล่นต่อเมื่อใด โดยจะต้องให้สัญญาณกับผู้จับเวลาว่าเมื่อไรจะให้หยุดนาฬิกา (ขอเวลานอก) และจะเริ่มเมื่อไร
การหยุดเวลาการเล่น และการขอเวลานอก จะต้องแสดงให้ผู้จับเวลาทราบ โดยการเป่านกหวัดสั้น ๆ 3 ครั้ง และให้สัญญาณมือรูปตัว T สัญญาณนกหวัดจะต้องเป่าเพื่อแสดงให้เริ่มการเล่นใหม่ภายหลังจากการขอเวลานอก
หมายเหตุ ถ้าจะให้ดีควรใช้นาฬิกาที่แสดงให้ทุกคนเห็นได้ แต่จะต้องควบคุมได้จากโต๊ะผู้จับเวลาเท่านั้น แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ผู้จับเวลาควรใช้นาฬิกาตั้งโต๊ะหรือนาฬิกาจับเวลา ผู้จับเวลาจะต้องหยุดเวลาเมื่อผู้ตัดสินขอเวลานอกและจะต้องเริ่มเวลาใหม่เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณนกหวีด
5. ถ้าเวลาการเล่นได้หมดลง ผู้จับเวลาจะต้องคอยจนกว่าการส่งลูกกินเปล่าหรือยิงลูกโทษได้เสร็จสิ้นลง จึงจะให้สัญญาณครั้งสุดท้าย
6. ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าผู้จับเวลาได้ให้สัญญาณหมดเวลาก่อนกำหนด เขาต้องให้ผู้เล่นทั้งหมดอยู่ในสนามและเล่นต่อไป ทีมที่เสียเปรียบจากการให้สัญญาณหมดเวลาจะได้เป็นผู้ครอบครองลูกบอล ถ้าเวลาในครึ่งแรกจบช้าเกินไป เวลาในครึ่งหลังต้องตัดลงให้น้อยกว่าเดิมตามที่เป็นไปนั้น
7. เมื่อหมดเวลาในช่วงปกติแล้วผลยังเสมอกัน กติกาการแข่งขันได้กำหนดการหาผู้ชนะ โดยให้ทำการเสี่ยงหลังจากพัก 5 นาที เพื่อเลือกส่งหรือเลือกแดน สำหรับเล่นในเวลาเพิ่มพิเศษ โดยช่วงเวลาที่เพิ่มพิเศษจะแบ่งเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 5 นาที (เปลี่ยนแดนกันในครึ่งเวลา โดยไม่มีเวลาพัก) ถ้าผลยังเสมอกันอีก ก็ให้ต่อเวลาเพิ่มพิเศษในช่วงที่ 2 โดยให้ทำการเสี่ยงเพื่อเลือกแดน และการแข่งขันจะไม่มีเวลาพักในช่วงเวลาเพิ่มพิเศษ ถ้าผลจากการต่อเวลาเพิ่มพิเศษในช่วงที่ 2 ยังคงเสมอกันอีก ให้ประยุกต์กติกานี้เพื่อหาผู้ชนะ
ลูกบอล
1. ลูกบอลจะต้องทำด้วยหนังหรือวัสดุเทียม และเป็นรูปทรงกลม ผิวของลูกบอลต้องไม่สะท้อนแสงหรือลื่น
2. ลูกบอลเมื่อวัดโดยรอบก่อนการแข่งขัน ในประเภทชายมีเส้นรอบวงระหว่าง 58-60 เซนติเมตร หนัก 425-475 กรัม สำหรับประเภทหญิงจะมีเส้นรอบวงระหว่าง 54-56 เซนติเมตร หนัก 325-400 กรัม
3. การแข่งขันแต่ละครั้งต้องมีลูกบอลที่ถูกต้องตามกติกาไว้ 2 ลูก
4. เมื่อการแข่งขันเริ่มขึ้น จะสามารถเปลี่ยนลูกบอลได้เมื่อมีเหตุผลอันสมควรเท่านั้น
5. ลูกบอลที่มีเครื่องหมายรับรองของสหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ (IHF) เท่านั้น จึงจะสามารถใช้สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติได้
ผู้เล่น
1. ทีมหนึ่งประกอบด้วยผู้เล่น 12 คน (ผู้เล่นในสนาม 10 คน ผู้รักษาประตู 2 คน) ซึ่งต้องมีชื่ออยู่ในใบบันทึก ตลอดเวลาการแข่งขันจะต้องมีผู้รักษาประตูการแข่งขันตะต้องมีผู้เล่นฝ่ายละไม่เกิน 7 คน (เป็นผู้เล่นในสนาม 6 คน และผู้รักษาประตู 1 คน) ทุกคนสามารถร่วมเล่นในสนามได้ตลอดเวลา ส่วนที่เหลือคือผู้เล่นสำรองเฉพาะผู้เล่นสำรองและผู้เล่นที่ถูกสั่งพักรวมทั้งเจ้าหน้าที่อีก 4 คน เท่านั้นที่อนุญาตให้นั่งอยู่ในบริเวณเขตผู้เล่นสำรอง ซึ่งเจ้าหน้าที่นี้ต้องมีชื่ออยู่ในใบบันทึก และมีคนหนึ่งที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผุ้รับผิดชอบต่อทีม โดยเจ้าหน้าที่คนนี้เท่านั้นที่สามรถแสดงตนกับผู้บันทึก ผู้จับเวลา และผู้ตัดสินได้ (ถ้าจำเป็น)
2. ในการเริ่มต้นแข่งขัน ทั้งสองฝ่ายต้องมีผู้เล่นอย่างน้อยฝ่ายละ 5 คน โดยมี 1 คน ที่มีชื่อในใบบันทึกว่าเป็นผู้รักษาประตูตลอดเวลาการแข่งขัน รวมทั้งเวลาเพิ่มพิเศษ จำนวนผู้เล่นจะสามารถเพิ่มขึ้นจนถึง 12 คนได้ และการแข่งขันจะดำเนินต่อไป ผู้เล่นที่มีสิทธิ์เข้าเล่นสามารถเข้าเล่นในสนามได้ทุกเวลา ณ บริเวณเส้นการเปลี่ยนตัวของทีมตนเองผู้เล่นที่มาถึงสนามหลังจากการเข่งขันได้เริ่มไปแล้วจะต้องได้รับการอนุญาตให้เข้าเล่นได้จากผู้บันทึกหรือผู้จับเวลาก่อน ถ้าผู้เล่นที่ไม่มีสิทธิ์เข้าเล่นได้ลงในสนาม ฝ่ายตรงกันข้าม จะได้ส่งลูกกินเปล่า และผู้เล่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน
4. ผู้เล่นสำรองสามารถเข้าเล่นได้ทุกเวลา โดยไม่ต้องแจ้งต่อผู้บันทึกผู้จับเวลา โดยผู้เล่นในสนามได้ออกจากสนามเรียบร้อยแล้ว ในกรณีนี้จะใช้รวมถึงการเปลี่ยนตัวผู้รักษาประตูด้วย ผู้เล่นทุกคนจะสามารถเข้าหรือออกจากสนามได้เฉพาะในส่วนบริเวณเส้นเปลี่ยนตัวของฝ่ายตนเองเท่านั้น ในระหว่างการขอเวลานอก การเข้าสนามจะสามารถเข้าได้เฉพาะในช่วงเขตการเปลี่ยนตัว โดยการอนุญาตจากผู้ตัดสิน
หมายเหตุ ผู้เล่นที่ออกหรือเข้าสนามโดยไม่ถูกต้องจะถูกทำโทษตามกติกาการผิดระเบียบการเปลี่ยนตัว นอกจากการออกนอกสนามโดยไม่ตั้งใจ
5. การเปลี่ยนตัวที่ไม่ถูกต้องจะถูกลงโทษโดยการส่งลูกกินเปล่า ณ จุดที่ผู้เล่นสำรองได้เข้าสนาม และลงโทษผู้เล่นที่เข้าไปในสนาม โดยการให้พัก 2 นาที ถ้าการเปลี่ยนตัวที่ไม่ถูกต้องได้ทำในขณะหยุดการแข่งขัน ผู้เล่นนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และเริ่มเล่นใหม่โดยการส่ง ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลงตามความเหมาะสมถ้ามีการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับการไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา หรือการก้าวร้าวอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนตัวที่ผิดระเบียบ หรืออื่น ๆ ผู้เล่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์ หรือให้ออกจากการแข่งขันตามความเหมาะสม
6. ถ้าผู้เล่นเข้าไปในสนามเกินจำนวนซึ่งเป็นการผิดกติกานั้น ผู้เล่นนั้นจะถูกสั่งพัก 2 นาที และผู้เล่นอื่นอีก 1 คน จะต้องออกจากสนามไป 2 นาทีด้วย เช่นกัน
ถ้าผู้เล่นที่ถูกสั่งพักเข้าไปในสนามขณะช่วงเวลาสั่งพัก เขาจะต้องออกจากสนามและถูกสั่งพักเพิ่มอีก 2 นาที และผู้เล่นอื่นอีก 1 คน จะต้องออกจากสนามเพื่อไปพักในช่วงเวลาการสั่งพักด้วย โดยเจ้าหน้าที่ของทีมจะต้องเป็นผู้กำหนดว่าจะให้ใครออกจากสนาม
7. ผู้เล่นแต่ละทีมที่อยู่ใสนามทุกคนจะต้องใส่เสื้อที่มีสีเดียวกัน แต่ต้องแตกต่างจากสีเสื้อของผู้รักษาประตูทั้งสองทีม ผู้เล่นจะต้องใส่เสื้อที่มีหมายเลขตั้งแต่ 1-20โดยให้หมายเลข 1, 12 และ 16 เป็นหมายเลขของผู้รักษาประตู ซึ่งที่ด้านหลังเสื้อมีขนาดสูงอย่างน้อย 20 เซนติเมตร และที่ด้านหน้ามีขนาดสูงอย่างน้อย 10เซนติเมตร หมายเลขเสื้อนี้จะต้องมีสีที่แตกต่างจากสีเสื้อผู้เล่นควรสวมรองเท้ากีฬา และห้ามผู้เล่นสวมกำไล นาฬิกา แหวน สร้อยคอ ต่างหู แว่นตาที่ไม่มีกรอบนอกหรือเชือกที่จะทำให้แน่น และอุปกรณ์ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้เล่นอื่น ๆ ผู้เล่นที่ไม่สามารถถอดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว จะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงเล่นจนกว่าจะถอดออกให้เรียบร้อยหัวหน้าทีมของแต่ละทีม จะต้องสวมปลอกแขนที่มีขนาดกว้าง 4 เซนติเมตร ที่แขนท่อนบน และสีของปลอกแขนจะต้องแตกต่างจากสีเสื้อด้วย
ผู้รักษาประตู
1. ผู้รักษาประตูจะต้องไม่เปลี่ยนเป็นผู้เล่นในสนาม แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นในสนามอาจเปลี่ยนเป็นผู้รักษาประตูได้ ซึ่งผู้บันทึก/ผู้จับเวลา จะต้องได้รับแจ้งเสียก่อน ถ้าผู้เล่นในสนามจะเข้าแทนผู้รักษาประตู โดยผู้เล่นในสนามที่จะเปลี่ยนเข้าแทนผู้รักษาประตู จะต้องเปลี่ยนเสื้อก่อนที่จะเข้าไป ณ บริเวณเขตการเปลี่ยนตัว
หมายเหตุ ผู้เล่นในสนามที่เข้าแทนผู้รักษาประตู สามารถกลับเข้ามาเป็นผู้เล่นในสนามได้ทุกเวลา
ผู้รักษาประตูสามารถกระทำดังต่อไปนี้
2. ถูกลูกบอลด้วยส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในขณะที่อยู่ในลักษณะการป้องกันภายในเขตประตู
3. เคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกบอลภายในเขตประตู โดยปราศจากข้อจำกัดผู้รักษาประตู
4. ออกจากเขตประตูโดยมิได้นำลูกบอลออกมา
การจัดอันดับและรีวิวของผู้เรียน
ยังไม่มีรีวิว